วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

สรุปงานเพื่อนที่นำเสนอ วิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสซึ่ม (Consturctivism)
การสร้างองค์ความรู้ เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานมาจากจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยมีความเชื่อว่าผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  อาศัยประสบการณ์ เดิมที่มีอยู่ โยงความรู้เดิม กับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน  ครูผู้สอนต้องเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

การเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
หัวใจสำคัญของความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ที่ความเป็นครูมืออาชีพที่มุ่งมั่นคิดค้น แสวงหาวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีความสำเร็จในการเรียนรู้เต็มศักยภาพ ครบถ้วนตามมาตรฐาน โดยใช้พื้นฐานความรักความเมตตาที่ครูมีต่อผู้เรียนทุกคนอย่างแท้จริง

Learning Electronic Learning
การนำเอาเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การอบรม การทดสอบและประเมินผลผ่านเว็บเพจ  ซึ่งกระบวนการการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่เหมาะสม  ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความต้องการและความจำเป็นของตนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
 
Backward Design หรือการออกแบบย้อนกลับ 
เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้

การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา (Q.A.)  คือ การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ซึ่งมีความสำคัญ
                1.  ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้
                2.  ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ
                3.  ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง
ประเภทของระบบประกันคุณภาพ มี ประเภท คือ ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก  ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์จากการประกันคุณภาพการศึกษา (Q.A.)   ได้แก่  นักศึกษา  คณาจารย์  ท้องถิ่นสถานศึกษา  ผู้ปกครอง  ประชาชน  และประเทศชาติ

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การที่บุคคลในองค์กรหรือต่างองค์กรได้ร่วมกันเพื่อจัดการงานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จ  ทั้งนี้การมีส่วนร่วมนั้น ๆ    จะอยู่ในขั้นตอนใด ๆ  ก็ตาม โดยขึ้นอยู่กับความรู้   ความสามารถ  ประสบการณ์   ข้อจำกัดขององค์กรในแต่ละกระบวนการของการดำเนินการบริหารเป็นเกณฑ์ สิ่งสำคัญคือต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ 

การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
การจัดกลุ่มให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ในลักษณะกลุ่มสัมพันธ์ เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกัน และกัน  มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุ่น และเป็นมิตร ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้อื่น เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่นยิ่งขึ้น และผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานเป็นทีมสัมพันธ์

ห้องเรียนคุณภาพ
             ห้องเรียนคุณภาพเป็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งคือด้านคุณภาพการศึกษา  ปัจจุบันมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง     เชิงคุณภาพในระดับปฏิบัติ คือ ระดับห้องเรียนโดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐาน  เกี่ยวกับ ห้องเรียนคุณภาพที่มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ
1. นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน  2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  3.  การวิจัยในชั้นเรียน 
4.  การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน  และ 5. การสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)

การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM)
เป็น การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์    ใช้ความรู้ในองค์กร รวมถึงกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานย่อยขององค์กร        เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
การจัดการความรู้ในความหมายนี้จึงเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎี แต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้ (Resource Person)
              การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เป้าหมาย คือ การพัฒนางานและพัฒนาคน โดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom)
การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและ
อินเทอร์เน็ตผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ สรุปได้ว่า

ห้องเรียนปกติ
ห้องเรียนเสมือน
1. การพูดและการฟัง
1. การพิมพ์และการอ่าน
2. สถานที่เรียนใดก็ได้ เวลาใดก็ได้
2. มีการกำหนดตารางเวลาเรียน
3. ผู้เรียนต้องจดบันทึก
3. การจดบันทึกถูกบันทึกโดยอัตโนมัติ
4. คอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกกำหนดสำหรับผู้เรียน
4.คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความสะดวก

 การบริหารเชิงระบบ
การศึกษาวิธีการบริหารเชิงระบบเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานในองค์การประเภทต่างๆ ทำให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก บริหารลักษณะองค์รวมเป้าหมาย กระบวนการระบบย่อย องค์ประกอบต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการปฏิบัติงานแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการบริหาร

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นการจัดการเรียนการสอนไม่ใช่วิธีการสอน การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการที่เน้นการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก
แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถต่างกัน แต่ละคนจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแท้จริงและในความสำเร็จของกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการแบ่งปันทรัพยากรการเรียนรู้
เป็นกำลังใจแก่กันและกัน สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองเท่านั้น แต่จะต้อง
รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม




การจัดการเรียนการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้ CIPPA Model
เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง ที่รองศาสตรจารย์ทิศนา  แขมมณี อาจารย์จากคณะครุศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาขึ้นจากการรวบรวมและประสานสัมพันธ์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในลักษณะใหม่ที่เรียกว่า ซิปปา โมเดล สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์  มีกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม 2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่ 3. ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม  4. ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม  5. ขั้นการสรุปและจัดระเบียบความรู้  6. ขั้นการแสดงผลงาน และ 7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่ 1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (interaction) และฝึกฝนทักษะกระบวนการต่าง ๆ (process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์และทางสังคม(physical participation)อย่างเหมาะสม อันช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัว สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่างดี จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอนทั้ง 6 มีคุณสมบัติตามหลักการ CIPP ส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ (application) จึงทำให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School  Based  Management   :   SBM)
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เป็นกลยุทธ์ทางการบริหารและการจัดการศึกษาที่กระจายอำนาจในการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง  ให้โรงเรียนมีอำนาจ อิสระคล่องตัวในการตัดสินใจดำเนินการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนภายใต้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา  การกระจายอำนาจ การจัดการศึกษา ของโรงเรียนโดยมุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ และการแสดงภาระงานที่สามารถตรวจสอบได้ของโรงเรียน




…………………………………………………….













วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

เกี่ยวกับฉัน

นางไพรัตน์  นารี  ครูโรงเรียนบ้านดู่ อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์ กำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ครอบครัวของฉัน

ฉันและครอบครัว ภาพวันแห่งความสำเร็จของลูก 23 มีนาคม 2553

งานที่ได้รับมอบหมาย

ข้าพเจ้ารับผิดชอบกลุ่มสาระภาษาไทยระดับมัธยมต้นผลงานที่เกิดจากการสอน ผลงานนักเรียน นักเรียนได้รับรางวัลจากแข่งขันตอบปัญหาสารานุกรมไทย  ได้รับรางวังชนะเลิศอันดับ 1 ระดับจังหวัดสุรินทร์ และ ไดัรับรางวัลรองชนะเลิศอัันดับ 1 ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ




งานห้องสมุด

งานห้องสมุดรับผิดชอบการลงทะเบียนหนังสือ บันทึกทะเบียนยืมส่งโดยมีบรรณารักษ์น้อยเป็นผู้ให้บริการ

โครงการที่รับผิดชอบพิเศษ

โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ปีการศึกษา 2553 สวนเสือศรีราชา มีการแสดงของเสือ ช้าง และหมู
สถานบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล  มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี